วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โรงเรียนยุคพัฒนา (พ.ศ.2510-2540)

โรงเรียนมหาวชิราวุธได้ฟื้นฟูและสร้างอาคารใหม่อยู่บ่อยๆ จนกระทั่ง พ.ศ.2510  ได้เข้าสู่ยุคพัฒนา  ซึ่งเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านระบบการจัดการเรียนการสอน เครื่องแบบ กฎระเบียบ และอีกหลายๆ ด้าน


พ.ศ.2510  สร้างหอประชุม 1 เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว สร้างโรงพลศึกษารัตนปราการ 
โดยนายสุชาติ   รัตนปราการ ได้บริจาคเงินสร้างให้กับโรงเรียนมหาวชิราวุธ 


พ.ศ.2512  สร้างเรือนฝึกดนตรีสากล  เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว



นอกจากนี้ยังเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียน  จากเสื้อสีขาว  กางเกงสีกากี  เป็นเสื้อขาว  
กางเกงสีน้ำเงิน
  และในพ.ศ.
2512 เปลี่ยนเป็นปักชื่อโรงเรียนจาก  ส.ข.๑  เป็น ม.ว.

พ.ศ.2513  สร้างอาคาร  424 เป็นอาคารคอนกรีต  4  ชั้น  คืออาคาร  3  ในปัจจุบัน

พ.ศ.2514 อาจารย์นิยม  เสรรัตน์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ย้ายมาเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาวชิราวุธ  ในปีนี้อาคาร 3 ที่สร้างไว้เมื่อปี 2513 ได้เสร็จสมบูรณ์ ในปีเดียวกันนี้ทาง ราชการ 
ได้จัดสรรงบประมาณ
ให้ สร้างอาคาร  424  (อาคาร 4)  และโรงงานช่างยนต์  1  หลัง นอกจากนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนักเรียนออกเป็นกลุ่มชั้นละ  1  กลุ่ม
      
            พ.ศ.2515  กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดระดับโรงเรียนให้โรงเรียนมหาวชิราวุธเป็นโรงเรียน  
ชั้นพิเศษ
  และให้งบประมาณสร้างโรงฝึกงานอีก หลัง คือ  โรงฝึกช่างไม้และช่างโลหะ และในปีนี้       
คุณแม่สมบูรณ์ ประธานราษฎร์นิกร และนายสุชาติ ประธานราษฎร์นิกรได้บริจาคเงิน 1,500,000 บาท สร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้น 10 ห้องเรียนให้แก่โรงเรียนมหาวชิราวุธ เรียกว่า อาคารสมบูรณ์อุทิศ
(
ประธานราษฎร์นิกร)  หรือ อาคาร 5

พ.ศ.2517 กรมสามัญศึกษา มีคำสั่งให้โรงเรียนรับนักเรียนผลัดบ่าย ทำให้มีนักเรียนมากขึ้น
นอกจากนี้โรงเรียนมหาวชิราวุธ
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมในส่วนภูมิภาค โดยใช้หลักสูตร คมส

พ.ศ.2518  กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย  2518  ในโรงเรียน
จึงมีการเรียนการสอน
 3 หลักสูตร คือหลักสูตร 2518 ในปีนี้คุรุสภาได้อนุมัติแต่งตั้งให้อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาวชิราวุธ  เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนชั้นพิเศษ


พ.ศ.2519  กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งให้โรงเรียนมหาวชิราวุธ  เปิดสอนนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับ  5  โดยเปิด  4  ห้องเรียน  3  แผนก  คือศิลปะฝรั่งเศส  ศิลปะคณิตศาสตร์  และธุรกิจ  เปิดได้ปีเดียวก็ต้องงด  เพราะโรงเรียนไม่มีความพร้อม

พ.ศ.2521  เป็นปีที่เริ่มหลักสูตรใหม่  โดยจัดการศึกษาเป็น  6-3-3  โรงเรียนจึงต้องเปิดรับนักเรียน  2  ประเภท  คือนักเรียนที่จบประถมศึกษาปีที่  7  เข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่  1  และรับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาที่ 6  เข้าศึกษาในชั้นมัธยมปีที่ 1  ในปีนี้โรงเรียนได้รับงบประมาณ  เพื่อก่อสร้างหอประชุม  1  หลัง  โรงฝึกงานช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า   และโรงพลศึกษา  1  หลัง  
ในปีนี้คณะกรรมการนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธมีมติให้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประดิษฐานไว้  ณโรงเรียนมหาวชิราวุธ  โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเมื่อวันที่  2  ตุลาคม  2522  กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบและหล่อปั้น  แล้วเสร็จเมื่อวันที่  14  สิงหาคม  2525  จากนั้น อัญเชิญมาประดิษฐานที่โรงเรียนมหาวชิราวุธเมื่อวันที่  18  สิงหาคม  2525  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่  29  สิงหาคม  2525  โดยมี  ฯพณฯพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเป็นประธานดำเนินการจัดสร้าง  และเป็นผู้ถวายคำกราบบังคมทูลในพิธี

พ.ศ.2527  อาจารย์โกศล  ดวงพัตรา  ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธได้มีการพัฒนาด้านอาคารสถานที่เป็นจำนวนมาก  กล่าวคือ  ในพ.ศ.2528  คณะศิษย์เก่าได้คิดที่จะสร้างหอสมุดให้กับโรงเรียน  โดย  ฯพณฯ  พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น  ได้บริจาคเงินห้าแสนบาทถ้วน  เป็นทุนแรกเริ่มในการสร้างหอสมุด  มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่  26  สิงหาคม  2528  วันที่  28  มิถุนายน  2530  ฯพณฯ  พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  อนุมัติให้ใช้ชื่อหอสมุดนี้ว่า  หอสมุดติณสูลานนท์  และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่  26  สิงหาคม  2530  นอกจากนี้ยังได้สร้างลานเอนกประสงค์หน้าอาคารเรียน  1  สร้างสวนสุขภาพ  และเริ่มก่อสร้างอาคารเรียน6

พ.ศ.2532 อาจารย์ไพบูลย์  พิชัยวงศ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนระโนดวิทยา  ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน  มีการพัฒนาทางด้านวิชาการ  อาทิเช่น โครงการความเป็นเลิศทางวิชาการ  การพัฒนาการเรียนการสอนและการนำคอมพิวเตอร์มาบริหารงาน  สร้างที่พักนักกีฬาและได้ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำสถานศึกษา  ทำการสมโภชเบิกเนตร  เมื่อวันที่  14 15  ธันวาคม  2533

พ.ศ.2534  อาจารย์สว่าง  หนูสวัสดิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์  ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน  ได้มีการสานต่องานพัฒนาทางด้านวิชาการ  และกิจกรรม

พ.ศ.2537  อาจารย์สว่างเกษียณอายุราชการ อาจารย์สุวิชช์  ศรีทิพยราษฎร์  ผู้อำนวยการโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล  จังหวัดปัตตานีย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน  

พ.ศ.2538  เริ่มรับนักเรียนหญิงเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นครั้งแรก  

พ.ศ.2539  ได้วางศิลาฤกษ์อาคาร  100  ปี มหาวชิราวุธ  โดย  ฯพณฯ  พลเอกเปรม ติณสูลานนท์  ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ  เป็นประธานในพิธี  เป็นอาคารคอนกรีต  6  ชั้น  เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ  จะมีอายุครบ  100  ปี  ในวันที่  1  มกราคม  พ.ศ.2540

และ ในวันที่  1  มกราคม  พ.ศ.2540  อาจารย์บุญงาม  ไชยรัตน์  ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน  เป็นผู้อำนวยการคนที่  23 และเป็นผู้อำนวยการหญิงคนแรกของมหาวชิราวุธ และได้รวมพลังคณะครู นักเรียนทั้งเก่าและปัจจุบัน รวมทั้งชาวสงขลาร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองในโอกาสโรงเรียนครบรอบศตวรรษ งาน 100 ปี มหาวชิราวุธ สร้างความประทับใจให้ไม่รู้ลืม

.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น