วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สมาคมนักเรียนเก่า มหาวชิราวุธ

สมาคมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ

           "มหาวชิราวุธ" เนิ่นนานเกรียงไกรและกร้าวแกร่งอย่างมั่นคงมาจนอายุครบ 100  ปี  สถาบันระดับมัธยมประจำภูมิภาคจังหวัดสงขลา    หัวเมืองอุปราชภาคใต้สุดด้ามขวานทองแม้เป็นสถาบันห่างไกลพระนครหลวง แต่ด้วยความบุกบั่นมานะพยายามของคณาจารย์ และความหมั่นเพียร ของสานุศิษย์ที่จะประกาศศักดิ์ศรีของมาตุภูมิ   ทั้งนามสถาบัน    “โรงเรียนมหาวชิราวุธสงขลา”  เทิดดวงตราสัญลักษณ์  “วชิราวุธ” พระราชลัญจกรแห่งสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระบรมโอรสาธิราช  สยามมกุฎราชกุมาร  ในครั้งนั้น

           ปีแล้วปีเล่า  “ลูกน้ำเงิน-ขาว”  โบยบินออกจากรังรวง ดินแดนใหญ่สองทะเล กระจายไปทุกภูมิภาคของประเทศ ด้วยความมั่นคงในภูมิปัญญา และกล้าแกร่งในการต่อสู้ด้วยวิทยาการที่ได้รับการฟูมฟักมาอย่างดี



            ลูกมหาวชิราวุธที่พวกเราภาคภูมิใจที่สุด นั่นคือ  ฯพณฯพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ  ท่านผู้รักและห่วงใยสถาบันเก่าอย่างซาบซึ้งนับเป็นศิษย์เก่าที่เลิศด้วยเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ อันมหาชนยอมรับโดยดุษฎี  ยามประเทศชาติเข้ามุมอับเพราะความขัดแย้งแก่งแย่งของผู้มีอำนาจ   ลูกมหาวชิราวุธคนนี้ได้อาสาเข้าเป็นกันชนเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของแผ่นดิน  แก้ปัญหาทั้งเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมือง  จนทะลุทะลวงด้วยความบริสุทธิ์  นับเป็นเยี่ยงอย่างอันประเสริฐ   ที่บรรดา  “ลูกมหาวชิราวุธ”  จะได้ประพฤติปฏิบัติตามสืบไป  

             นับไม่ถ้วนที่จะพรรณนาเป็นรายบุคคล  ถึงเกียรติคุณของศิษย์เก่าแห่งสถาบันมหาวชิราวุธ  กล่าวได้แต่ว่า  ชาวมหาวชิราวุธทุกคนรักและภาคภูมิใจในเกียรติประวัติของแต่ละท่าน  ด้วยเหตุนี้เอง  การรวมพลังเพื่อเชิดชูชื่อเสียงอันเกริกเกียรติเป็นศูนย์รวมดวงใจและมิ่งขวัญของศิษย์เก่ามหาวชิราวุธ ที่กระจัดกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียว  จึงกำเนิด  “สมาคมมหาวชิราวุธ”  ขึ้น

             บุคคลสำคัญที่เริ่มต้นก่อตั้ง   สมาคมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ    ตั้งแต่ปีพ.ศ.2477  โดยพลโทพระเจ้าวรวงศ์เธอ      พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ  ทรงรับเป็นที่ปรึกษาหารือกับ ขุนคีรีรัฐนิคม  (นวล  สุขะวัลลี) ศิษย์เก่ามหาวชิราวุธดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองจังหวัดสงขลา ในขณะนั้น  ร่วมกับศิษย์เก่าอีกหลายท่านในการที่จะจัดตั้ง  สมาคมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ทีจะเป็นที่รวมดวงใจของบรรดาศิษย์เก่าเป็นหนึ่งเดียว  เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือสถาบันที่ได้อบรมสั่งสอน

            แม้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ    จะเสด็จกลับกรุงเทพมหานครก่อนที่การดำเนินการจัดตั้งสมาคมนักเรียนเก่าสำเร็จ แต่ขุนคีรีรัฐนิคมก็สามารถประสานกับหลวงวิชัยจิตรกรรม  (ชัย  จิตรกูล)    อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาวชิราวุธในขณะนั้น   โดยการอุปการะจากพระสาครบุรีรักษ์  ข้าหลวงประจำจังหวัดสงขลา  (ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา)    ในฐานะนายทะเบียนจนสำเร็จจดทะเบียนเป็น    สมาคมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ  เมื่อวันที่ 20  พฤศจิกายน  พ.ศ.2477   และทางสมาคมเมื่อวันที่     20  พฤศจิกายน พ.ศ.2477  และทางสมาคมนักเรียนเก่าได้ถวายพระเกียรติผู้ทรงริเริ่มจัดตั้งสมาคมแห้งนี้แด่  พันตรี  พระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
              สมาคมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ  ได้อัญเชิญดวงตราพระราชลัญจกร  “วชิราวุธ”  แห่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  “พระมหาธีรราชเจ้า”   ซึ่งเป็นดวงตราประจำโรงเรียนมาเป็นตราเครื่องหมายศิริมงคลแห่งสมาคมฯนี้ด้วยความเทิดทูลและถวายรำลึกแห่งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท  เนื่องจากโรงเรียนแห่งนี้ได้สร้างขึ้นในขณะที่พระองค์ท่านทรงดำรงพระยศเป็นพระราชปิโยรสบรมโอรสาธิราช  สยามมกุฎราชกุมาร  และเพื่อเป็นมหามิ่งมงคลแก่สมาคมสืบไป

              ชาวมหาวชิราวุธทุกคน  ต่างเทิดทูลถนอมไว้ซึ่งเกียรติภูมิแห่งสถาบัน  ที่ศิษย์เก่าทั้งหลายต่างได้บำเพ็ญเพียรสร้างไว้  โดยยึดมั่นในปรัชญาเดียวกัน  คือ
“รกฺขาม  อตฺตโน  สาธุ  /  จงรักษาความดีของตนไว้”
รักษาดี – ที่ตนสร้างสมไว้
รักษาดี – ที่ตนเสียสละเพื่อผู้อื่น
รักษาดี – ที่ตนได้มาเพราะการกระทำดี

           กาลล่วงเลยมาจนถึงปี  พ.ศ.2494  คณะกรรมการศิษย์เก่าก็คิดสร้างอาคารสมาคมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ  ขึ้นเป็นเอกเทศ  โดยรวบรวมเงินได้  304  บาท  ในสมัยนั้น

          จนถึงปีพ.ศ.2495  ได้สมทบเข้ามาอีก  18,434.41  บาทการก่อสร้างจึงเริ่มขึ้นที่  ที่ดินของโรงเรียนบริเวณมุมถนนสะเดา  กับ  ถนนราชดำเนิน  โดยปั้น  วิริโยทัย  นายกสมาคมฯ ได้มีการสร้างเสริมกันเรื่อยมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2495    โดยสมาคมที่ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารงาน อาทิ นางเล็กดา  จุลสมัย  นายโกวิท  คติการ  นายสวัสดิ์  ถาวรสุวรรณ  นายพิพิธ  วรรณพฤกษ์  และพ.ต.อ.พยูน  สุขะนันท์ (พลตำรวจตรี) ตามลำดับจนเสร็จสิ้นรวมเป็นค่าก่อสร้างทั้งหมด 313,500 บาท

           นับแต่ได้ก่อตั้งสมาคมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธเป็นต้นมาสมาคมฯได้ทำหน้าที่เป็นการแสดงกตัญญกตเวทิตาคุณแด่สถาบันที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาการมาจนเป็นหลักฐานโดยการสนับสนุนสรรค์สร้างถาวรวัตถุไว้หลายประการได้แก่  จัดหาเงินสร้างอาคารเรียน  (อาคาร 1)  1 หลัง,สร้างรั้วคอนกรีตรอบโรงเรียน,ก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ประดิษฐานเป็นมหามงคลแห่งสถาบัน , สร้างอาคารหอสมุด   โดยพลเอกเปรม   ติณสูลานนท์   ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ  นายกสมาคมกิตติมศักดิ์เป็นประธานจัดสร้าง นอกจากนั้นมีการปรับปรุงสนามกีฬาของโรงเรียน ตลอดจนให้การสนับสนุนศิษย์ปัจจุบัน  และโรงเรียนในกิจกรรมต่างๆเสมอมา

         ศิษย์เก่ามหาวชิราวุธทุกคน  มีความรักและซาบซึ้งต่อสถาบันไม่มีวันเสื่อมคลาย  เสียงเพลง.....  “น้ำเงินและขาวเราบูชา ศรีมหาวชิราวุธที่เคยรุ่งเรืองฯ....  ....สามัคคีนี้นำเราไปสู่หลักชัยขอให้เราไชโย”  กระหึ่มขึ้นแห่งแล้วแห่งเล่า  แม้ในต่างแดนแสดงถึงการรวมพลัง  ลูกมหาฯ คราพบปะกัน   การรำลึกถึงดินแดนแห่ง  น้ำเงิน-ขาว  ความเก่าๆ ก็ผุดขึ้นในสำนึกร่วมสถาบันล้วนช่วยเหลือกัน ด้วยความมั่นคงในสามัคคี  และจะเป็นเช่นนี้สืบไปชั่วกัลปาวสาน........


รายนามนายกสมาคม
นักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ

พ.ศ.
นายก
พ.ศ.
นายก
2477
นายกิติ  วรรณพฤกษ์
2502
นายปั้น  วิริโยทัย
2478
นายพิชิต  ศิริโชติ
2503
นางเล็กดา  จุลสมัย
2479
พระประสาทสมบัติ
(แดง  สลานนท์)
2504
2505
นายโกวิท  คติการ
นายโกวิท  คติการ
2480 - 2481
พระประสาทสมบัติ
(แดง  สลานนท์)
2506
2507
นายโกวิท  คติการ
นายสวัสดิ์  ถาวรสุวรรณ
2482 - 2483
นายตรา  นาคมรกต
2508
นายพิพิธ  วรรณพฤกษ์
2484 2485
2486
นายพิชิต  ศิริโชติ
ขุนมนัสเนติ
(มนัส  เครือตราชู)
นายสุดใจ  เหล่าสุนทร
2509 2513

2514
พ.ต.ท.พยูณ  สุขะนันท์
(พล.ต.ต.)
ร.ต.อ.เปรม  รุจิเรข
(พ.ต.ท.)
2487
2488
นายพงศ์อินทร์  ศุขขจร
นายบุญประกอบ  
ศิริวงศ์
2515 - 2519
พ.ต.ท.พยูณ  สุขะนันท์
(พล.ต.ต.)
2489
นายไพศาล  สว่างพงศ์
2520 - 2525
นายสืบสวัสดิ์  สาครินทร์


2490


2491


นายไพศาล  สว่างพงศ์


น.พ.บุญจอง  ศิริวงศ์


2526


ฯพณฯพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  (นายกกิตติมศักดิ์)
2492 - 2493
นายแดง  รัตรสาร
2526 - 2527
น.พ.ไสว  ลิมปิษเฐียร
2494 - 2495
นายศรีพัท  มีนะกนิษฐ
2528 - 2530
นายบัญญัติ  จันทร์เสนะ
2496
นายไพศาล  สว่างพงศ์
2531 - 2533
นายไพบูลย์  พิชัยวงศ์
2497 2500
นายปั้น  วิริโยทัย
2533 - 2535
นายวิศาล  เกียรติไพบูลย์
2501
นายปั้น  วิริโยทัย
2535 2538
2539 - 2541
นายพีระตันติเศรณี
นายมนัส  อุสตัส



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น