วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โรงเรียนยุคสงคราม(พ.ศ.2483-2487)

         หลังจากสิ้นปี  2483  ครูนิตย์  นพคุณ  ย้ายไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัดปัตตานี  ปี  2484  นายสวัสดิ์  ภูมิรัตน์  ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่และ เป็นช่วงที่เกิดสงครามเอเซียบูรพา  กองทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก  ตามเมืองริมฝั่งทะเลของอ่าวไทย  ที่สงขลาทหารญี่ปุ่นเข้าพักตามวัดและโรงเรียนต่างๆ  โรงเรียนมหาวชิราวุธก็เช่นกันทหารญี่ปุ่นยึดเป็นที่พัก  และได้ใช้หนังสือในห้องสมุด  โต๊ะเรียน  เก้าอี้  ทำเป็นฟืนหุงข้าวจนหมด  







         ต่อมาปี พ.ศ. 2485  กรุงเทพฯ  ถูกโจมตีทางอากาศ  กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศปิดโรงเรียน  และงดสอบไล่  โดยถือว่านักเรียนที่มีเวลาเรียนร้อยละ  60  ขึ้นไป  สอบไล่ได้ทุกคน



        ต้นปี พ.ศ.2486  นายสวัสดิ์  ภูมิรัตน์  ย้ายไปเป็นอาจารย์โรงเรียนฝึกหัดครู  อาจารย์สุดใจ  เหล่าสุนทร  ครูใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัดปัตตานี  ย้ายมาแทน  เมื่อสิ้นปีได้ย้ายกลับเข้ากรุงเทพฯ  อาจารย์พงศ์อินทร์  ศุขขจร  ครูใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัดพัทลุง จึงย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน  เมื่อสงครามโลกครั้งที่  2  สงบลง  

       ในปี พ.ศ.2488 มีการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาในระดับมัธยมขึ้นใหม่  โดยให้กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบในการเปิดสอนระดับเตรียมอุดมศึกษาขึ้นในโรงเรียนบางแห่งเช่นเดียวกับที่เคยจัด
ระดับ ม.7 – ม.8  ในสมัยก่อน โดยโรงเรียนมหาวชิราวุธ ได้เปิดแผนกอักษรศาสตร์  และวิทยาศาสตร์  อย่างละ  1  ห้องเรียน  ในช่วงนี้ อาคารที่ใช้เรียนมีเพียง   หลัง  คือ อาคารรูปตัวยู(U) และอาคาร 2487 ซึ่งคับแคบและชำรุดทรุดโทรมมากทำให้ อาจารย์พงศ์อินทร์  ศุขขจร  จึงดำริที่จะสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ให้งดงามทันสมัย  และพอเพียงกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายๆฝ่าย  ทั้งพ่อค้า  ประชาชน และข้าราชการ บริจาคเงินเป็นทุนก่อสร้างในเบื้องต้นเป็นจำนวนมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น