วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โรงเรียนยุคฟื้นฟู ( พ.ศ.2490 –2509)

         พ.ศ.2490 – พ.ศ.2509 เป็นยุคหลังจากสงครามและเริ่มเกิดการฟื้นฟูในหลายด้านเพราะได้รับความเสียหายอย่างมาก จากสงครามเอเชียบูรพา จึงต้องทำการปรับปรุงอาคารสถานที่ที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่นักเรียนและครูอาจารย์


วันที่ 1 มกราคม  2490  ซึ่งเป็นวันที่โรงเรียนมหาวชิราวุธมีอายุครบ 50 ปี จึงเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะสร้างอาคารเรียนหลังใหม่  โดยกำหนดการวางศิลาฤกษ์  ในวันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน 2490  เวลา 10.48 นาฬิกา  โดยมีหม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธี
            อาคารหลังใหม่นี้เริ่มก่อสร้างในปี  2491 นอกจากนี้อาจารย์พงศ์อินทร์ ศุขขจร ได้แต่งเพลงมาร์ช ประจำโรงเรียนเอาไว้ด้วยและใช้มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้  จนกระทั่งปี 2492 อาจารย์พงศ์อินทร์  ศุขขจร  ย้ายไปรับราชการที่กรุงเทพมหานคร  ทำให้อาจารย์คิด  เลิสสิริ  ก้องสมุท  ครูใหญ่โรงเรียนประจำอำเภอทุ่งสง ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทนในปี  2496  และอาคารใหม่ซึ่งตั้งเป็นอาคาร 1 ได้เสร็จสมบูรณ์ในปี 2496 นี่เอง



พ.ศ.2497  อาจารย์ชื้น  เรืองเวช  ได้ย้ายมาเป็นอาจารย์โรงเรียนมหาวชิราวุธแทนอาจารย์คิดเลิสสิริ ก้องสมุท สมัยนี้เน้นการทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรและทำกิจกรรมร่วมกับสังคมภายนอกเป็นการนำโรงเรียนเข้าสู่ชุมชน


พ.ศ.2505  ได้สร้างโรงอาหาร  เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว  (ปัจจุบันรื้อแล้ว)

            พ.ศ.2507  อาจารย์ชื้น  เรืองเวช  ย้ายไปรับราชการที่จังหวัดฉะเชิงเทรา  และอาจารย์จรัญ โสตถิพันธุ์  มาเป็นอาจารย์ใหญ่

            พ.ศ.2507  สร้างอาคารคหกรรมศิลป์ เป็นอาคารชั้นเดียว ในปีนี้หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มาเยี่ยมชมโรงเรียน

            พ.ศ. 2509  ได้สร้างอาคารเรียนไม้  2  ชั้น  เพิ่มขึ้นอีก  1  หลัง นั่นคืออาคารเรียน  2  ซึ่งปัจจุบันได้รื้อไปแล้วเพื่อสร้างหอประชุมเปรม 100 ปี มาหวชิราวุธ

.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น